ความปลอดภัยในการทำงานกับนั่งร้าน ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และ ดำเนินจัดการ ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับนั่งร้าน พ.ศ. 2564 ซึ่งมีการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อในวันที่ 1 มีนาคม 2564 พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตราที่ 8 วรรคที่ 1 บัญญัติให้นายจ้าง บริหารจัดการ และ ดำเนินการ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไป ตามมาตรฐาน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และ เพื่อให้ การทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน มีมาตรฐาน ทำให้ลูกจ้างมีความปลอดภัย ในการทำงานมากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวง ฉบับดังกล่าวขึ้น
ในกฎกระทรวงฯ มีสาระที่สำคัญที่กำหนดให้ นายจ้างต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในการทำงานกับนั่งร้าน กับลูกจ้างในการทำงานกับนั่งร้าน ดังต่อไปนี้
หัวหน้างาน ต้องให้ลูกจ้างสวมใส่ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคล ที่หมาะสมกับสภาพของการทำงานกับนั่งร้าน และ ลักษณะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
ต้องอบรม หรือ ชี้แจงให้ลูกจ้างทราบ ก่อนเริ่มกฎิบัติงาน และ ควบคุมดูแล ให้ลูกจ้าง ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด และ ต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าว ไว้ให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ติดตั้งป้าย สัญลักษณ์เตือนอันตราย และ เครื่องหมายป้ายบังคับ เกี่ยวกับ ความปลอดภัย ในการทำงาน เกี่ยวกับนั่งร้าน เช่น หามเข้า เขตอันตราย ระวังวัสดุตก หรือหล่น ให้สวมใส่ อุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล ฯลฯ
นายจ้างต้องจัดให้มีการ คำนวณ ออกแบบ และ ควบคุม การใช้งานนั่งร้าน โดยวิศวร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อไข
ที่อธิบดีประกาศกำหนด
ในการทำงานบนนั่งร้านหลายชั้น พร้อมกัน นายจ้างต้องจัดให้มี มาตรการป้องกัน วัสดุร่วงหล่น ที่เหมาะสมกับสภาพงาน
ตรวจสอบนั่งร้านทุกครั้งก่อนการใช้งาน และทำรายงานผล การตรวจสอบไว้ด้วย และต้องมีสำเนาเอกสาร ดังกล่าว ไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
อบรมนั่งร้าน อบรมการติดตั้งนั่งร้าน อบรมการติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้าน
© 2022 Created with เซฟตี้อินไทย
ข้อตกลงและเงื่อนไข เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดียิ่งขึ้น